Saturday 11 June 2011

"เห็ดฟาง" ทานแล้วช่วยลดไขมันในเส้นเลือด

"เห็ดฟาง" ทานแล้วช่วยลดไขมันในเส้นเลือด



       เห็ดฟาง หรือ เห็ดบัว ภาคอีสานเรียกว่า เห็ดเฟียง มีชื่อสามัญว่า Straw Mushroom มี ถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ขึ้นตามกองฟาง ดอกตูมมีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาว มีเยื่อหุ้มกระเปาะคล้ายถ้วย รองรับฐานเห็ดเรียกว่า ผ้าอ้อมเห็ด เมื่อหมวกเห็ดเจริญเติบโตที่จะกางออก คล้ายร่ม ด้านบนของหมวกเห็ดจะสีเทาอ่อน หรือเทาเข้ม ผิวเรียบและอาจมีขนละเอียดคลุมอยู่บาง ๆ ก้านดอกสีขาว เนื้อในแน่น ละเอียด ออกดอกทุกฤดูกาล 

          คนไทยรู้จักบริโภคอาหารจากเห็ดมานาน เนื่องจากเห็ดมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าพืชผักชนิดอื่น เพราะในการเพาะเห็ดจะไม่มีการใช้สารฆ่าแมลง วิธีการเพาะเห็ดฟางในปัจจุบันมีอยู่หลายวิธี เช่น การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง,การเพาะเห็ดแบบกองเตี้ย,การเพาะเห็ดฟางจากเปลือก ฝักถั่ว,การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือนอุตสาหกรรม,การเพาะเห็ดฟางในถุงหรือใน กระสอบ,การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เป็นต้น การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงไม่เป็นที่นิยมทำกันมากนักเพราะในการเพาะด้วยวิธี นี้ใช้เวลานาน อีกทั้งเสียเวลาในการดูแลรักษาด้วย

         จึงได้หยิบยกการเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีง่าย ๆ และใช้พื้นที่น้อยในการเพาะสามารถทำได้ทุกครัวเรือน การเพาะเห็ดในตะกร้าเป็นการเพาะเห็ดฟางอย่างง่าย ลดรายจ่ายด้านอาหารในครัวเรือน และสามารถทำเป็นกิจกรรมเสริมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจได้ หรือทำเป็นอาชีพเสริม วัสดุที่ใช้เพาะก็สามารถใช้วัสดุเศษเหลือในไร่นาได้เกือบทั้งหมด เช่นเดียวกับการเพาะเห็ดฟางแบบอื่น ๆ แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นคือ สามารถนำก้อนเชื้อเห็ดถุงที่เก็บดอกหมดแล้วทั้งเห็ดขอนขาว เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม มาเป็นวัสดุเพาะได้อีกด้วย


ที่มา  :  http://www.vcharkarn.com/

ความเป็นมาในการเพาะเห็ดฟางด้วยทะลายปาล์มน้ำมัน

วัสดุ เหลือใช้จากการเกษตรและอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยมี ความพยายามเปลี่ยนให้เป็นดอกเห็ดโดยเฉพาะเห็ดฟาง ซึ่งสืบเนื่องจากการที่เรา พบกลุ่มดอกเห็ดฟางเกิดขึ้นมากมายในบริเวณที่มีกองทะลายปาล์มสลายตัว จึงได้ ศึกษาวิธีการนำเศษเหลือจากปาล์มน้ำมันไปใช้เพาะเห็ดฟาง (อนงค์ จันทร์ศรีกุล , 2530) รวมทั้งเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ นางรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529-2534 และทำ เชื้อเห็ดฟาง เมื่อปี พ.ศ. 2634 ได้เริ่มใช้เศษเหลือปาล์มน้ำมันส่วนที่เป็น ใยและเปลือกเมล็ดปาล์มหมักเพาะเห็ดฟางในรังไม้สี่เหลี่ยมที่บริษัทแสง สวรรค์ จังหวัดกระบี่ (พ.ศ. 2530) นอกจากนั้นเรายังทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ สนใจ (บริษัทยูนิออยปาล์ม และคุณ ปราณี ลิ่มศรีวิไล ) ใช้ทะลายเปล่าปาล์ม น้ำมันทดลองหมักแล้วนำมาเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ซึ่งผลการทดลองที่ได้ไม่แตก ต่างกับที่ได้ทดลองไว้ที่แปลงทดลองของบริษัทแสงสวรรค์ โดยได้ผลผลิตเฉลี่ย ไม่เกินร้อยละ 3 หรือได้เห็ดฟางเพียง 3 กิโลกรัม จากการใช้ทะลาย ปาล์ม 100 กิโลกรัม

พื้นที่ที่เพาะปลูกระหว่างปี พ.ศ. 2530-2543 พื้นที่เพาะปลูกจากจังหวัดใน ภาคใต้ : สตูล นราธิวาส สงขลา กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และ ระนอง และจากจังหวัดในภาคตะวันออก : ชลบุรี สู่ภาคกลาง : ประจวบ คีรีขันธ์ นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สุพรรณบุรี พระนครสรีอยุธยา ฯลฯ


พื้นที่เพาะปลูกระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547 ได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกจากจังหวัด ในภาคใต้ : สตูล นราธิวาส สงขลา กระบี่ ตรัง นครศรี ธรรมราช สุราษฎร์ ระนอง ชุมพร และ จากจังหวัดในภาคตะวันออก : ชลบุรี สู่ภาค กลาง : ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหา นคร สุพรรณบุรี สิงห์บุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ : นครราชสีมา และภาคเหนือ : เชียงใหม่

วิวัฒนาการการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มนอกโรงเรือน :
1.1. ระหว่างปี พ.ศ. 2530-2543
การนำทะลายปาล์มน้ำมันมาใช้นั้นมี ขั้นตอน วิธีการเพาะ และการปฏิบัติดูแลรักษาในแปลงเห็ดแต่ละช่วงจะคล้ายคลึงกับการเพาะเห็ดฟางกอง เตี้ยที่ใช้เปลือกฝักถั่วเขียว ฟางข้าว และวัสดุอื่น ๆ แต่ต่างกันที่ทะลายปาล์มน้ำมันมีสารอาหาร น้ำมัน (ในใยปาล์มแห้งจะมีไขมัน 2.29% ข้อมูลจากบริษัทกระบี่ไฟเบอร์ จำกัด) อยู่มากกว่าจึงมีทั้งจุลินทรีย์และแมลง ปนเปื้อน ดังนี้นจึงต้องทำความสะอาดโดยชะล้างด้วยน้ำก่อนหมักและนำไปใช้เพาะ

1.2 ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547 (วิธีการของคุณ ยุธนา กันทพงศ์ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร)

1. การเตรียมทะลายปาล์มน้ำมัน
- ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน (1 คันรถสิบล้อ) น้ำหนักประมาณ 13 ตัน
- รดด้วยน้ำให้ชุ่มปิดด้วยผ้าพลาสติกเป็นเวลา 4-5 วัน
- ล้างทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันด้วยน้ำแล้วเติมด้วยปูนขาว 10 กิโลกรัม และส่าเหล้า 5 ลิตรผสมน้ำ 100 ลิตร รดกองทะลายปาล์มให้ทั่ว 10 ลิตร
- แล้วปิดกองให้มิดชิดด้วยผ้าพลาสติกเป็นเวลา 7 วัน

2. การเตรียมพื้นที่เพาะ / แปลงเพาะ
พื้นที่ส่วนใหญ่นิยมเพาะกันในสวนปาล์ม ควรเลือกพื้นที่ไม่มีปลวก และปรับพื้นที่ให้เรียบ ขนาดของแปลงเพาะ กว้าง x ยาว ประมาณ 1 x 8 เมตร นำทะลายปาล์มที่ผ่านการหมักแล้ววางเรียงเป็นแนวมุม 45 องศา แล้วรดด้วยน้ำสะอาด กดหรือเหยียบทะลายปาล์มให้แน่นแล้วรดด้วยน้ำปูนขาว (ปูนขาว 5% และน้ำผสมส่าเหล้า (ส่าเหล้า 5 ลิตรน้ำ 100 ลิตร ) ปริมาณ 2 บัว คลุมแปลงเพาะด้วยผืนพลาสติกสีดำ จนเกิดความร้อนซึ่งจะทำให้ตัวหนอนที่มีอยู่ในกองทะลายปาล์มเคลื่อนย้ายขึ้น มาอยู่หน้าพลาสติก จนสามารถกำจัดได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้สารเคมีทะลายปาล์มน้ำมันจำนวนประมาณ 13 ตันนำไปเตรียมแปลงเพาะฟางได้ 24-25 แปลง

3. การเตรียมเชื้อเห็ดฟางที่จะนำมาเพาะ
สูตรอาหาร:
- กากถั่วเหลือง 20 กิโลกรัม
- มูลช้างผสมมูลม้าแห้ง 5 กิโลกรัม
- ยูเรีย เล็กน้อย
- ภูไมท์ 0.6 กิโลกรัม
- รำ 1 กิโลกรัม
- แกลบกาแฟ 10 กิโลกรัม
- ก้อนเห็ดนางฟ้าใช้แล้ว 10 กิโลกรัม
- ส่าเหล้า 1 ลิตร
- ขี้ฝ้าย 10 กิโลกรัม
- เชื้อพันธุ์เห็ดทดสอบสายพันธุ์ V- ทลป กรมวิชาการเกษตร

4. การใส่เชื้อเห็ดฟาง
ใช้เชื้อเห็ดฟางจำนวน 40 ถุง (ต่อแปลงเพาะขนาด กว้าง x ยาว = 1 x 8 ตารางเมตร ) คลุกกับแป้งข้าวเหนียวแล้วโรยลงเฉพาะตรงกลางแปลง ส่วนบริเวณที่เหลือโรยด้วยขี้เลื่อยจากก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าเก่า แล้วคลุมแปลงเพาะด้วยผืนพลาสติก เป็นเวลา 4-5 วัน จนเกิดความร้อนสะสมเพิ่มมากขึ้น ก็จะขึ้นโครงไม้คร่อมแปลงเพาะเพื่อเพิ่มพื้นที่หมุนเวียนของอากาศภายในแปลง เพาะ การปฏิบัติและรักษาให้เกิดดอกเห็ดฟาง กระทำเช่นเดียวกับการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย
*** ผลผลิตเห็ดฟาง 800- 900 กิโลกรัม ต่อทะลายปาล์มน้ำมันจำนวน 13 ตัน
วิวัฒนาการการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มในโรงเรือน :
ระหว่างปี พ.ศ. 2530-2543 ข้อมูลการเพาะในโรงเรือนบางส่วนอยู่ใน เล่าเรื่องการเพาะเห็ดฟางด้วยเศษเหลือจากปาล์มน้ำมัน (อัจฉรา พยัพพานนท์, 2543)

ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547

1. วิธีการของ คุณ รุ้งเพชร ทรัพย์สุวรรณ ต. บ้านแป้ง อ. พรหมบุรี จ. สิงห์บุรี

สูตรอาหาร :
- ทะลายปาล์มน้ำมัน 18-19 ตัน
- รำ 15 กิโลกรัม
- ขี้วัว 15 กิโลกรัม
- ปุ๋ยยูเรีย 1 กิโลกรัม
- ปูนขาว 2 กิโลกรัม

หมักในบ่อหมัก และกลับกองนำทะลายปาล์มน้ำมันหมักแล้วขึ้นชั้นในห้องเพาะ ซึ่งกรุงด้วยผ้าพลาสติกสีดำ ห้องเพาะมีขนาด กว้าง x ยาว = มีแถวเพาะ 3 แถว แต่ละแถวมี 4 ชั้น จำนวน 6 ห้อง ได้ผลผลิตห้องละประมาณ 110- 120 กิโลกรัม

การนำทะลายปาล์มใช้เพาะเห็ดฟางแล้วกลับมาใช้ :
หลังจากสิ้นสุดการเพาะครั้งที่ 1 แล้วได้นำทะลายปาล์มเก่ามาหมักใหม่ครั้งที่ 2 โดยใช้วิธีการหมักและอาหารเสริมสูตรเดิม เพาะแล้วได้ผลผลิตห้องละประมาณ 100 กิโลกรัมหลังจากสิ้นสุดการเพาะครั้งที่ 2 แล้วได้นำทะลายเก่ามาหมักครั้งที่ 3 โดยใช้วิธีการหมักและอาหารเสริมสูตรเดิมแต่เพิ่มขี้ฝ้าย 150 กิโลกรัมหรือเปลือกถั่ว 200 กิโลกรัมหมักด้วยอาหารเสริมสูตรเดิมสำหรับปิดทับหน้าทะลายปาล์มเก่าหมัก ได้ผลผลิตห้องละประมาณ 70- 105 กิโลกรัม หลังจากสิ้นสุดการเพาะครั้งที่ 3 คงนำทะลายเก่านั้นกลับมาใช้ โดยดำเนินการเช่นเดียวกับครั้งที่ 3 เป็นการเพาะครั้งที่ 4 ได้ผลผลิตห้องละประมาณ 70- 100 กิโลกรัม ผลผลิตทั้งหมดที่เคยได้ไม่น้อยกว่า 2,100 กิโลกรัมต่อทะลายปาล์ม 18 ตัน

*** หลังจากสิ้นสุดการเพาะครั้งที่ 4 ทะลายปาล์มเก่าจะสลายตัว สามารถนำมาย่อยแล้วบรรจุถุง จำหน่ายเป็นปุ๋ยบำรุงดินได้ราคาถุงละ 15 บาท

2. วิธีการของคุณ อภิรักษ์ พรพุทธศรี (จ. ราชบุรี)

สูตรอาหาร :
- ทะลายปาล์ม 18 ตัน
- สารอีเอ็ม 10 ลิตร
- ยูเรีย 10 กิโลกรัม
- ปุ๋ย (16-16-16) 15 กิโลกรัม
- ปูนขาว 3 กิโลกรัม

ทะลายปาล์มสดทั้งหมดใส่อาหารเสริมแล้วคลุมด้วยผ้าพลาสติก 1 สัปดาห์แล้วจะฉีดด้วยน้ำแล้ว คลุมกองต่ออีก 5 วัน จึงย้ายทะลายปาล์มหมักทั้งหมดลงบ่อซีเมนต์แล้วล้างน้ำทิ้งอีกครั้ง หมักต่อ 2 วัน จึงขนเข้าห้องเพาะ นำขึ้นชั้นเพาะขนาด กว้าง x ยาว = 0.9 x 4.5 เมตร 4 ชั้น จำนวน 4 แถว ลดและทำลายจุลินทรีย์แมลงและไข่แมลงที่ปนเปื้อนทะลายปาล์มหมักด้วยการอบไอ น้ำ แล้วใส่เชื้อเห็ดฟางจำนวน 280 ถุง (ช่วงอากาศเย็นใส่ 300 ถุง) ต่อห้อง สำหรับทะลายปาล์ม 18 ตันหมักใช้เพาะได้ 4 ห้อง ได้ผลผลิตประมาณ 300 กิโลกรัม/ทะลายปาล์ม 4.5 ตันต่อห้องเพาะ หรือ 4.60 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือมีค่า B.E. ประมาณ 6.6% (คิดจากทะลายปาล์มสด) หรือประมาณ 17% (คิดจากทะลายปาล์มแห้ง)

*** ผลผลิตทั้งหมดได้ไม่น้อยกว่าประมาณ 1,200 กิโลกรัมต่อทะลายปาล์ม 18 ตัน

ข้อพึงระวังจากการเพาะเห็ดฟางด้วยทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน :
1. ทะลายปาล์มเป็นวัสดุที่มีสารอาหารมากกว่าวัสดุเพาะอื่น ๆ จะมีจุลินทรีย์ปนเปื้อนสูงที่จะกระทบกระเทือนต่อสุขภาพของผู้เพาะในระบบทาง เดินหายใจ และมีผลต่อการเจริญของเห็ดฟางด้วย เพราะว่าจะมีกลุ่มเชื้อราหลายชนิด (ที่ไม่พบเมื่อใช้ฟางข้าวเพาะ) จะเจริญกระจายก่อนบนแปลงเพาะทำให้เกิดช้ากว่าจนทำให้เกษตรกรขาดความมั่นใจใน การเพาะว่าจะได้ดอกเห็ด

2. ทะลายปาล์มเป็นแหล่งสะสมแมลงและหนอน ในการเพาะแบบกองเตี้ย

3. การใช้อาหารเสริมซึ่งมีส่วนเป็นแหล่งเพิ่มราปนเปื้อน ในกลุ่มราเขียว (หลายกลุ่ม) และกลุ่มอื่น ๆ เนื่องจากอาหารเสริมจะมีแป้ง รำ หรือโปรตีนจากแหล่งต่าง ๆ จะเป็นอาหารของกลุ่มเชื้อราและจุลินทรีย์อื่น ๆ ในการเจริญเติบโตเพาะขยายพันธุ์อย่างดี ในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น ดังนั้น ถ้าอาหารเสริมนั้นเก่า เก็บไว้นาน ก็จะเป็นแหล่งแพร่จุลินทรีย์และแมลงปนเปื้อนเป็นอย่างดี

4. ควรมีการระบายความร้อน หรือความชื้นที่มากเกินในแปลงเพาะหรือโรงเรือนเพื่อช่วยให้ดอกเห็ดไม่ฉ่ำน้ำ จนเกินไป ซึ่งถ้าดอกเห็ดฉ่ำน้ำ การเก็บรักษาเห็ดตั้งแต่ช่วงขนส่ง และขายจนถึงผู้บริโภคก็จะเป็นเห็ดฟางที่คุณภาพไม่ดี ซึ่งจะมีผลต่อตลาดเห็ดฟางในอนาคตด้วย

บทสรุป :
เมื่อเรามีโอกาสดีที่จะมีทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันจำนวนมากเป็นวัตถุดิบซึ่ง เก็บความร้อนได้ดีมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อการเจริญของเห็ดฟาง  มีเทคโนโลยีในการผลิตเห็ดและมีเชื้อพันธุ์เห็ดฟางที่เหมาะสมสำหรับเพาะเห็ด ฟาง เมื่อรับบาลเน้นมุ่งส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยต่อสุขภาพ เห็ดฟางนั้นจัดเป็นพืชผักดังกล่าวอยู่แล้ว ดังนั้น เกษตรกรผู้มีความตั้งใจที่จะเพาะเป็นอาชีพจึงควรต้องมีการวางแผน การจัดการ งานเพาะเห็ดในฟาร์มเห็ดตลอดเวลา จะช่วยป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นระหว่างการผลิตเห็ดรวมทั้งผลผลิตเห็ดที่ได้ ออกมาจะมีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ในขณะเดียวกันนักวิจัยจะต้องศึกษาและพัฒนาการใช้ประโยชน์ทะลายเปล่าปาล์ม น้ำมันเปลี่ยนให้เป็นดอกเห็ดฟางสูงขึ้นกว่าปัจจุบัน จากการร่วมมือซึ่งกันและกันของหลาย ๆ ฝ่าย ทำให้เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

pH:ความเป็นกรด-ด่างของดิน

ความเป็นกรด-ด่างของดิน 


           สภาพความเป็นกรด-ด่างของดินนั้นเราสามารถตรวจสอบได้ ปกติเรามักใช้บอกความเป็นกรด-ด่างด้วยค่าที่เรียกว่า พีเอช หรือนิยมเขียนสัญลักษณ์เป็นภาษาอังกฤษ pH ความหมายของค่าพีเอชนี้ขออธิบายดังนี้ ช่วงของพีเอชของดินโดยทั่วไปจะมีค่าอยู่ระหว่างประมาณ ๓.๐-๙.๐  ค่า pH 7.0 บอกถึงสภาพความเป็นกลางของดิน กล่าวคือ ดินมีตัวที่ทำให้เป็นกรดและตัวที่ทำให้เป็นด่างอยู่เป็นปริมาณเท่ากันพอดี ค่าที่ต่ำกว่า ๗.๐  เช่น ๖.๐ บอกสภาพความเป็นกรดของดิน ในกรณีนี้เมื่อดินมี pH 6.0 เราก็จะทราบว่าดินเป็นกรดอย่างอ่อน มีสภาพเป็นกรดมากกว่าดินที่มี pH 7.0 (เป็นกลาง) สิบเท่า ค่า pH ของดินยิ่งลดลงเท่าใดสภาพความเป็นกรดก็รุนแรงยิ่งขึ้นเท่านั้น  ดินที่มี pH 5.0 จะเป็นกรดมากกว่า pH 6.0 สิบเท่าและมากเป็น ๑๐๐ เท่าของดินที่มี pH 7.0 แต่ละค่าของ pH ที่ต่างกันหนึ่งหน่วยจะบอกความเป็นกรดที่แตกต่างกันสิบเท่า เช่นเดียวกับดินที่มี pH  สูงกว่า ๗.๐ ก็จะบอกสภาพความเป็นด่างของดินยิ่งมีค่าสูงกว่า ๗.๐ เท่าใด ความเป็นด่างก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น และจะเป็นด่างมากขึ้นเป็นสิบเท่าต่อความแตกต่างกันหนึ่งหน่วยของค่า pH ระดับความรุนแรงของความเป็นกรด-ด่างของดินสามารถบอกได้จากค่าของ pH ดังนี้

          ค่าของ pH ของดินสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความเป็นกรด ในภาคสนามสามารถใช้ชุดตรวจสอบชนิดใช้น้ำยาเปลี่ยนสีตรวจสอบเรียกว่า pH Test Kit หรือชุดตรวจสอบ pH

 ความเป็นกรด-ด่างของดินมีผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกอยู่ในดิน แต่จะขอกล่าวโดยสรุปเป็นสังเขปเท่านั้น

          ความเป็นกรดของดินจะมีสภาพเหมือนกับกรดอย่างอ่อน เช่น กรดน้ำส้มสายชู ตัวที่แสดงความเป็นกรดคือ ไฮโดรเจนไอออน (H+) ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางเคมีของดิน กล่าวคือ ทำให้มีการละลายตัวของธาตุหรือสารต่างๆ ในดินออกมา บ้างก็เป็นประโยชน์ บ้างก็อาจเป็นพิษต่อพืช เช่น ถ้าดินเป็นกรดรุนแรงจะทำให้มีธาตุพวกอะลูมิเนียม แมงกานีส และเหล็ก ละลายออกมาอยู่ในน้ำในดินมากเกินไป จนเกิดเป็นพิษขึ้นแก่พืชที่ปลูกได้ แมงกานีสและเหล็กแม้จะเป็นธาตุอาหารพืชที่สำคัญ แต่พืชต้องการในปริมาณน้อย  ถ้ามีสะสมอยู่ในดินมากจนเกินไปก็จะเกิดเป็นพิษขึ้นกับพืชได้ ดินที่มีค่าพีเอช (pH) ต่ำกว่า ๔.๕  ลงไปเรามักพบปัญหาดังกล่าวข้างต้น

          ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารต่างๆ  ในดินที่พืชจะดึงดูดเอาไปใช้ได้ง่ายและมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพหรือระดับ pH ของดินเป็นอย่างมาก ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินจะคงสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่าย และมีปริมาณมากที่ pH ช่วงหนึ่ง ถ้าดินมี pH สูงหรือต่ำกว่าช่วงนั้นๆ ก็เปลี่ยนสภาพเป็นรูปที่ยากที่พืชจะดึงดูดเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ เช่น ธาตุฟอสฟอรัสจะอยู่ในรูปของสารละลายที่พืชดึงดูดไปใช้ได้ง่าย เมื่อดินมี pH อยู่ระหว่าง ๖.๐-๗.๐ ถ้าดินมี pH สูง หรือต่ำกว่าช่วงนี้ ความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสในดินก็ลดน้อยลง เพราะไปทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่างๆ ในดินได้ง่ายขึ้น และแปรสภาพเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก ปุ๋ยฟอสเฟตที่เราใส่ลงไปในดินจะเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้มากที่สุดก็เมื่อดินมี pH อยู่ในช่วงดังกล่าว ปุ๋ยฟอสเฟตที่ใส่ลงไปในดินจะไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งหมด แต่จะสูญเสียไปโดยทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่างๆ ในดิน แปรสภาพเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากเสียกว่า ๘๐% ซึ่งเราเรียกว่าฟอสเฟตถูกตรึง ปุ๋ยฟอสเฟตจะถูกตรึงได้ง่ายและมากขึ้นไปกว่านี้ได้อีก ถ้าดินมี pH สูงหรือต่ำกว่าช่วง pH  ดังกล่าวข้างต้น

          ธาตุอาหารพืชพวกจุลธาตุ (micronutrients)  เช่น สังกะสี เหล็ก แมงกานีส โบรอน เป็นต้น  จะละลายออกมาอยู่ในสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่าย และมีอยู่ในดินอย่างพอเพียงกับความต้องการของพืช เมื่อดินมี pH เป็นกรดอย่างอ่อนถึงกรดปานกลางมากกว่าเมื่อดินมี pH เป็นกลางหรือเป็นด่าง แต่ในทางตรงกันข้ามธาตุอาหารโมลิบดินัม จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ดีขึ้น ถ้าดินมี pH เป็นกลางถึงด่างอย่างอ่อน อย่างไรก็ตามเมื่อสรุปความเสียเปรียบและได้เปรียบระหว่างความเป็นกรดและเป็นด่างของดินแล้ว ดินที่เหมาะสำหรับปลูกพืชควรจะมี pH อยู่ในช่วงเป็นกรดอย่างอ่อนถึงเป็นกรดปานกลาง

          ความสำคัญของ pH ของดินยังเกี่ยวข้องอยู่กับการทำงานที่เป็นประโยชน์ของจุลินทรีย์ต่างๆ ในดินด้วย ปกติสารประกอบอินทรีย์ต่างๆ ในดินจะเน่าเปื่อยผุพังได้ก็โดยที่มีจุลินทรีย์ต่างๆ  เข้าย่อยทำลาย ขณะที่สารอินทรีย์พวกนี้กำลังสลายตัวก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ ออกมาซึ่งรากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้ พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วทำให้พืชงอกงามดีขึ้นนั้น ก็เนื่องจากจุลินทรีย์พวกนี้เข้าย่อยและทำให้ปุ๋ยคอกสลายตัว และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกทีหนึ่ง การที่ปุ๋ยคอกมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ช้ากว่าปุ๋ยเคมี  ก็เนื่องด้วยเหตุที่ปุ๋ยคอกต้องรอให้จุลินทรีย์เข้าย่อยให้สลายตัวเสียก่อน ซึ่งผิดกับปุ๋ยเคมีเมื่อละลายน้ำแล้วพืชก็สามารถดึงดูดเอาธาตุอาหารจากปุ๋ยไปใช้ได้ทันที จุลินทรีย์ต่างๆ ที่เข้าย่อยสลายปุ๋ยคอกและสารอินทรีย์ต่างๆ ตลอดจนฮิวมัสในดินนั้นจะทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพ เมื่อ pH ของดินอยู่ระหว่าง pH 6-7 ถ้าดินเป็นกรดรุนแรงถึงกรดรุนแรงมาก จุลินทรีย์ในดินจะทำงานได้ช้าลง ปุ๋ยคอกและสารอินทรีย์ในดินจะสลายตัวและเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ช้ามาก

          เมื่อดินเป็นกรดรุนแรงและกรดรุนแรงมากนั้น มักจะพบว่าพืชที่ปลูกไม่เจริญเติบโต และงอกงามเท่าที่ควร เราสามารถแก้ไขดินที่เป็นกรดมากจนเกินไปนี้ (pH ต่ำกว่า ๕.๐) ให้มีระดับ pH  สูงขึ้น ได้โดยการใส่สารประกอบพวกปูนขาว  (Ca(OH2)) หินปูนที่บดละเอียดเป็นฝุ่น (CaCO3)  และปูนมาร์ล (marl) ซึ่งเป็นสารประเภทเดียวกันกับหินปูน สารประกอบพวกนี้เมื่อใส่ลงไปในดินจะมีฤทธิ์เป็นด่างและจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับกรด ทำให้สารพวกกรดในดินลดน้อยลง และมีสารพวกด่างสูงขึ้น

ทำความรู้จัก "อีโคไล"

ทำความรู้จัก "อีโคไล"




อีโคไล (E. coli) หรือมีชื่อเต็มๆ ว่า  Escherichia coli (เอสเชอริเชีย โคไล) เป็นแบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์


แบคทีเรียชนิดที่มีในร่างกายมนุษย์ส่วนใหญ่จะไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย แต่สำหรับแบคทีเรียที่มีชื่อว่า อีโคไล หรือ Escherichia ซึ่งพบได้ในลำไล้ของมนุษย์และสัตว์ สามารถทำให้เกิดโรคหรืออาการต่างๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ และอาการท้องร่วง เป็นต้น แบคทีเรียชนิด อีโคไลจะมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยเฉพาะในมูลสัตว์หลักจากพบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ระบาดในประเทศอังกฤษ วันนี้ Telegraph นำข้อมูลเกี่ยวกับแบคทีเรียชนิดนี้มาให้ได้รู้จักกันเพื่อเป็นการป้องกันและรับมือหากได้รับเชื้อชนิดนี้

เชื้ออีโคไล แพร่สู่คนได้อย่างไร

เชื่อแบคทีเรียอีโคไลจะแพร่สู่คนได้จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเชื้อชนิดนี้มักจะปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ได้รับการปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ


จำนวนผู้ได้รับเชื้ออีโคไล

หน่วยงานด้านการป้องกันโรคในประเทศอังกฤษรายงานว่าในปี 2551 มีผู้ได้รับเชื้ออีโคไลและมีอาการป่วยที่เกิดจากการได้รับเชื้อ 950 ราย

การระบาดของเชื้ออีโคไล

การแพร่ระบาดของเชื้ออีโคไลเริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษและคร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 20 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่รับประทานอาหารขณะร่วมพิธีในโบสถ์แห่งหนึ่งในปี 2539-2540


อาการของผู้ได้รับเชื้ออีโคไล
จะพบอาการแต่เริ่มท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งเกิดภาวะลำไส้อักเสบและมีอาการเลือดออกไม่หยุด เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและพบเลือดปนกับอุจจาระ

ระยะฟักตัวของเชื้ออีโคไล

ระยะฟักตัวของเชื้ออยู่ที่ประมาณ 3-8 วัน และจะปรากฏอาการในช่วง 3-4 วันหลังการได้รับเชื้อ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อจะสามารถนำเชื้อชนิดนี้ออกจากร่างกายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่เชื้อส่วนที่หลงเหลือเพียงเล็กน้อยยังสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่นเกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย

ผู้เสี่ยงได้รับเชื้ออีโคไล

เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ จะเป็นผู้มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้ออีโคไลมากที่สุด เนื่องจากร่างกายของคนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการต้านทานเชื้อได้น้อยกว่าคนทั่วไป

การป้องกันและรักษาเมื่อได้รับเชื้ออีโคไล

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอาการที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้โดยตรง ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น แต่ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดกลุ่มสเตอรอยด์ เช่นยาแอสไพริน เพราะยากลุ่มนี้จะมีผลทำลายไตของผู้รับประทาน นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันการได้รับเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มบรรจุกระป๋องและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


Monday 6 June 2011

อบรมการเพาะเห็ดฟางเชิงลึก โดย เอ็น.เจ. ฟาร์ม (http://www.njushroomfarm.com)



อบรมการเพาะเห็ดฟางเชิงลึก 2 วัน โดย เอ็น.เจ. ฟาร์ม ( NJ Mushroom Farm ) 

เอ็น.เจ. ฟาร์มจัดอบรมการเพาะในเห็ดฟางในครัวเรือน กำหนดอบรมวันเสาร์ที่ 23-24 กรกฎาคม 2554 โดยวิทยากร อาจารย์ราชันท์ เย็นมี หัวข้อการอบรม ประกอบด้วย : 

หัวข้อการอบรมการเพาะเห็ดฟางเชิงลึก 

-ทฤษฎีการเพาะเห็ดฟาง 
-วัสดุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 
-ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง 
-การผลิตเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ 
-การผลิตหัวเชื้อเห็ด 
-การบริหารและจัดการฟาร์ม 
-การวางตลาด 
-ชมการสาธิตวิธีการเหยียบฟาง การโรยเห็ด และการเพาะในโรงเรือน 
-ฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนฝึกปฏิบัติจริง 
-การจัดการภายในโรงเรือน 
-การจัดการโรคและแมลง 
-สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ด 


หลักสูตรละ จำกัดจำนวน 15 ท่าน เท่านั้น 

ค่าอบรมหลักสูตรการเพาะเห็ดเชิงลึก 2 วัน : 3,000 บาท ต่อหลักสูตร ต่อท่าน รวมทั้งค่าอาหาร เอกสารประกอบคำบรรยายและวัสดุ อุปกรณ์ในการอบรม 

วันที่ 23 - 24 กรกฎาคม 2554
เวลาอบรม 8.30 - 16.30 น. 


สถานที่อบรม : 10/1 ซ.เทียนทะเล12 ถ.บางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงบางบอน เขตบางขุนเทียน กทม 
http://maps.google.co.th/maps/ms?hl=th&ie=UTF8&msa=0&msid=212536539140504611216.0004a50cbea94163b752c&ll=13.649438,100.428748&spn=0.001452,0.001725&z=19

ติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งเข้ารับการฝึกอบรม : 
เอ็น.เจ. ฟาร์ม 08 8895 3186 
e-mail : info@njmushroomfarm.com 
website : http://www.njmushroomfarm.com

Monday 23 May 2011

เห็ดหอม


วิธีกระตุ้นการออกดอกและการพักตัวของเห็ดหอม
เห็ดหอมเป็นเห็ด ที่มีรสชาติดี มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและใช้เป็นยารักษาโรคได้ หลายขนานทั้งในตำรายาไทยและตำรายาจีนแผนโบราณ ตลาดมีความต้องการต่อ เนื่อง สามารถเก็บรักษาไว้ในรูปของเห็ดหอมแห้งที่ยังคงประโยชน์ได้นานแต่ ด้วยความที่เป็นเห็ดที่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเมืองหนาว จึงชอบอุณหภูมิต่ำใน การเจริญเติบโต กระนั้นก็ยังสามารถเพาะปลูกในประเทศไทยได้ช่วงฤดูหนาว ใน พื้นที่ที่มีความหนาวเย็น เช่น ทางภาคเหนือของไทย
เนื่องจากเส้นใยเห็ดหอมจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ ระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส และจะออกดอกได้ดี ก็ต่อเมื่อมีอุณหภูมิอยู่ในระดับ 15 องศาเซลเซียสเท่านั้น ทั้งยังต้องอาศัยเทคนิคเฉพาะในการกระตุ้นให้ออกดอก ทั้งก่อนเปิดดอก และ ระยะพักตัวก่อนจะเกิดดอกรุ่นต่อๆไป (ประมาณ 15-30 วัน) ภายในโรงเรือนที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส
วิธีกระตุ้นการออกดอกของเห็ดหอม :
ดังนั้น การที่เห็ดหอมจะสามารถออกดอกในครั้งแรก ก่อนการเปิดดอกและหลังจากการพักตัว จำต้องอาศัยเทคนิคการกระตุ้นก้อนเชื้อเห็ด ด้วยน้ำเย็นที่อุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียส เสียก่อน เส้นใยของเห็ดหอมจึงจะพร้อมพัฒนาเป็นดอกเห็ดได้ และนอกจากจะใช้น้ำเย็น 10-ารกระตุ้นการออกดอกเห็ดในแต่ละรอบแล้ว ยังสามารถกระตุ้นการออกดอกของเห็ดหอมได้อีกหลายวิธีดังนี้
++ วิธีที่ 1 ++ แช่ก้อนเชื้อเห็ดในน้ำเย็นที่อุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียส ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงน้ำก้อนเชื้อเห็ดไปเปิดปากถุงหรือแกะพลาสติกออก แล้วนำไปจัดวางในโรงเรือน
++วิธีที่ 2 ++ เปิดปากถุงและให้น้ำในก้อนเชื้อที่วางไว้ในโรงเรือน ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมงจึงเทน้ำออก
++วิธีที่ 3 ++ ตัดปากถุงออกและคว่ำก้อนเชื้อลงบนฟองน้ำเปียกเป็นเวลา 24-36 ชั่วโมง
++วิธีที่ 4. ++เปิดปากถุงและวางก้อนเชื้อไว้ที่พื้นโรงเรือน ให้น้ำแบบฝอยเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วเทน้ำที่ขังในถุงออก หลังจากกระตุ้นก้อนเชื้อแล้ว ให้นำก้อนเชื้อมาเปิดดอก ด้วยวิธีการพับปากถุงหรือตัดถุงพลาสติกออกให้เสมอขอบบน วางถุงไว้หับพื้นดิน เพื่อให้ก้อนเชื้อได้รับความชื้นอย่างเพียงพอ เห็ดหอมจะทยอยออกดอกได้ตามปกติ
กระตุ้นการออกดอกเห็ดหอมด้วยการให้น้ำระบบสปริงเกอร์
เกษตรกรผู้เพาะ เห็ดหอมหลายคนมีปัญหาเรื่องที่เห็ดหอมนั้นชอบอากาศเย็นและทำให้ไม่สามารถ ปลูกในพื้นที่อุณหภูมิที่อากาศร้อนจัดได้   ส่วนมากการปลูกเห็ดหอมจะมีมากใน แถบภาคเหนือ  และส่วนภาคอีสานเองก็มีที่จังหวัดเลย ซึ่งอุณหภูมิค่อนข้าง หนาวและอากาศคล้ายกัน  และปัญหามากที่ทำให้เกษตรกรขาดทุน ในการเพาะคือ เห็ด หอมมักไม่ออกดอก เนื่องจากอุณหภูมิเป็นเหตุ  ซึ่งปัญหานี้คุณวิชัย  ชาว นา   ประธานกลุ่มผู้เพาะเห็ดหอมบ้านหนองบง ต.หนองบัว อ.ภูเรื่อ จ.เลย มี ทางออกให้สำหรับเกษตรกร  ด้วยเทคนิคง่ายคือ ปรับอุณหภูมิโดยใช้น้ำนั่นเอง

วิธีการทำ
1.การติดตั้งระบบสปริงเกอร์ให้ทั่วถึง โดยให้มีระยะห่างกัน 4 – 5 เมตร ให้ปูพื้นด้วยพลาสติกดำเพื่อรักษาความชื้นและป้องกันการเกิดปลวกกินก้อนเห็ด หอมได้
2.หลักการให้น้ำคือ ต้องกำหนดสปริงเกอร์ให้น้ำออกเป็นฝอยหรือละอองเล็กให้มาก เพื่อทำให้โรงเรือนเย็น การให้ต้องให้ติดต่อกัน 1 ชั่วโมง หยุด 2 ชั่วโมง ให้แบบนี้ตลอด 2 วัน แล้วทำการคว่ำหน้าก้อนเห็ดลง และให้น้ำต่ออีก 2 วัน รวมเป็น 4 วัน และวันที่หยุดให้น้ำ ภายใน 3 วันเห็ดหอมจะออกดอกให้สามารถเก็บดอกจำหน่ายได้
เพียงเท่านี้สามารถทำให้เห็ดออกดอกได้ดีขึ้น แทนต้นทุนในการควบคุมความเย็นโดยระบบอัตโนมัติ ที่ต้องลงทุนสูงในแต่ละโรงเรือน
กระตุ้นดอกเห็ดหอมด้วยวิธีการคบน้ำแข็ง
จากการลงพื้นที่ หาข้อมูลในพื้นที่บ้านช้างกลาง ได้พบกับเกษตรกรกลุ่มชุมชนคนรักเห็ด นำโดย คุณสุรินทร์  รอดพ้น ประธานกลุ่มชุมชนคนรักเห็ด ชุมชนนี้ได้ผลิตถุงเพาะ เชื้อเห็ดทุกชนิดจำหน่าย พร้อมทั้งจำหน่ายในรูปแบบมีแพคเก็จของตัวเอง
เห็ดหอมซึ่งเป็นเห็ดที่เกษตรที่ทำการเพาะเห็ดคิดว่าทำผลิตออกมายาก คุณ สุรินทร์  รอดพ้นได้พิสูจน์ว่าไม่ได้ยากอย่างที่ใครๆบอก เราเลยได้รับทราบ ข้อมูลจากคุณสุรินทร์ ถึงเรื่องการบังคับให้เห็ดหอมออกผลผลิตในช่วงที่ตลาด มีความต้องการ ราคาสูง ได้ด้วย วิธีการน๊อคน้ำแข็ง รายละเอียดและวิธีการทำ ดังต่อไปนี้

วัสดุ-อุปกรณ์ :
1.บ่อซิเมนต์ อย่าให้มีรอยรั่ว
2.น้ำแข็ง
3.กระสอบป่าน
วิธีการทำ :
1.นำบ่อซิเมนต์ที่แน่ใจว่าไม่มีการรั่ว ใส่น้ำแข็งรองก้นบ่อ
2.ใส่ถุงเพาะเห็ดหอมลงไปบนน้ำแข็งปิดทับด้วยน้ำแข็งอีกครั้ง ทำเป็นชั้นๆ (ภาษาใต้เรียกว่า การคบน้ำแข็ง)
3.ทำจนถึงชั้นบนสุดปิดทับด้วยน้ำแข็งอีกครั้ง
4.ปิดด้วยกระสอบป่านสะอาดไม่ให้ลมเข้า ปิดไว้ 1 คืน
5.หลังจากนี้นำถุงเพาะเห็ดหอมออกมาวางในโรงเรือนบนกองทรายที่เตรียมไว้
6.ทิ้งไว้ในโรงเรือนโดยไม่ต้องรดน้ำประมาณ 4 วัน
7.ในช่วงระหว่าง3-4 วันจะสังเกตเห็นว่ามีการแตกตุ๋มดอกเห็ดเกิดขึ้น
8.เมื่อดอกเห็ดแตกดอกออกให้รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น จนกว่าดอกเห็ดได้ขนาดจึงสามารถนำไปขายได้
Source : http://blog.taradkaset.com

Sunday 22 May 2011

เห็ดหูหนู (Jelly mushroom)

 เห็ดลักษณะเฉพาะของเห็ดหูหนู 
หูหนูเป็นเห็ดที่มีรสชาติดี กลิ่นหอม กินอร่อยไม่ว่าจะนำมาปรุงอาหารประเภท ใดเห็ดหูหนูก็ยังคงสภาพการกรอบอยู่เสมอและมีปริมาณโปรตีน วิตามิน เกลือ แร่ ที่สูงและยังมีคุณสมบัติเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย เห็ดหูหนูเมื่อนำมาตาก แห้งจะสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมคุณภาพ
ใน ธรรมชาติเห็ดหูหนูเจริญได้ดีในเขตร้อน โดยเฉพาะสภาพอากาศเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็ดหูหนูจะเจริญเติบโตบนขอนไม้ที่เริ่มเปื่อยผุพัง ชาวจีนนับว่าเป็นชาติแรกที่รู้จักวิธีการเพาะเห็ดหูหนูโดยการตัดไม้โอ๊กเป็น ท่อนๆ มาเพาะ แต่ประเทศไทยได้ทดลองเพาะเห็ดโดยการตัดไม้แคมากองสุมกันไว้ พอถึงฤดูฝนไม้จะเริ่มผุ และเห็ดหูหนูเกิดขึ้น เห็ดหูหนูเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศแทบทุกภูมิภาคของประเทศไทย ประกอบกับประเทศไทยมีวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดหูหนูอย่างเหลือเฟือ เช่น ฟางข้าว ไม้เนื้ออ่อน ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด



++ ชีววิทยาของเห็ดหูหนู ++

ชื่อสามัญ : Jelly mushroom
Subdivision : Basidiomycotina
Class : Hymenomycetes
Subclass : Phragmobasidiomycetidae
Order : Tulasnellales (jelly fungus)
Family : Auriulariaceae
Genus : Aauricularia
สำหรับชนิดบางจะถูกจัดไว้อีกสกุลหนึ่ง ส่วนเห็ดหูหนูขาว หรือ White jelly fungus มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tremella fuciformis Berk. และถูกจัดไว้ในวงศ์ หรือ Family Tremellaceae

++ ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ++
ลักษณะดอกเห็ดมีเยื้อเป็นวุ้น (gelatinous structure) รูปร่างคล้ายหู (ear – shaped) บางพันธุ์จะมีขนละเอียดๆ ที่ผิวด้านล่างของดอก ก้านดอกสั้น หรือบางพันธุ์ก็ไม่มี ดอกเห็ดประกอบด้วย เส้นใยพวก binucleate hyphae ซึ่งมี dolipore septum และ clamp connection hymenium อยู่ด้านล่างของดอก basidium รูปทรงกระบอกมีผนังกั้นตามขวาง 3 อัน แบ่ง basidium ออกเป็น 4 เซลล์ แต่ละเซลล์จะสร้าง epibasidium ยืดยาวออกออกมาและส่วนปลายของ basidiospore รูปโค้งคล้ายไต ไม่มีสี basidiosporeของ A. auricular judae มีขนาด 5-6X10.45 – 12.5 ไมครอน และ A. polytricha 6.25×12.5 – 15 ไมครอน basidiospore เมื่อรวมกลุ่มกันมากๆ จะเห็นเป็นสีขาว

การพัฒนาของดอกเห็ดหูหนูบนท่อนไม้สามารถแบ่งได้เป็น 5 ระยะ : คือ
ระยะที่ 1 : primodial stage เป็นระยะที่เห็ดเริ่มสร้างดอกเห็ด จะเห็นจากใส่เชื้อบนท่อนไม้ 18 วัน มีลักษณะกลม สีม่วงจนถึงสีน้ำตาล ต่อมาอีก 4 – 5 วัน จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร
ระยะที่ 2 : Small or thick – cup stage ดอกเห็ดระยะนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.7 เซนติเมตร จะมีการเรียงตัวของเนื้อเยื้อเหมือนกับดอกเห็ดที่โตเต็มที่แล้ว
ระยะที่ 3 : Thin cup stage ขอบของดอกขยายออกและเริ่มบาง มีสีน้ำตาลอ่อน การเจริญของขอบไม่เท่ากัน มีด้านหนึ่งเจริญมาก เส้นผ่านศูนย์กลางของดอกประมาณ 2 – 3.5 ซม. ดอกหนาประมาณ 1.3 มิลลิเมตร อาจพบกลุ่มของสปอร์สีขาวบนดอกเห็ด
ระยะที่ 4 : Expanded plain – edged stage ดอกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่หลังจากระยะที่ 3 ประมาณ 1 อาทิตย์
ระยะที่ 5 : Expanded, wavy – edged stage ระยะนี้ต่อจากระยะที่ 4 ต่างกันเฉพาะขอบของดอกเห็ดจะหยัก


** ระยะเวลาจากระยะ 1 ถึง 3 เห็ดเจริญช้า แต่จาก 4-5 จะเจริญได้อย่างรวดเร็ว

วงจรชีวิตของเห็ดหูหนู : Basidiospore ของเห็ดหูหนูจะแบ่งเป็นหลายเซลล์ขณะที่งอก การงอกของ basidiospore อาจจะเป็นได้ 2 ลักษณะ คือ

1. basidiospore ที่แบ่งเซลล์แล้วงอก
2. basidiospore จะงอก germ tube เล็กและสั้นหลายอัน แต่ละอันก็จะสร้าง conidium ซึ่งมีขนาดเล็กและโค้ง ซึ่งในที่สุดก็จะหลุดออกไปแล้วงอกให้เส้นใยขั้นต้น 

ลักษณะการสืบพันธุ์ : เป็นแบบ bipolar heterothallic โดย uninucleate hyphae ซึ่งเจริญมาจาก basidiospore มีการรวมตัวกันแล้วclamp connection ถูกสร้างขึ้นได้เป็น dikaryotic hyphae ซึ่งเจริญต่อไปเป็นดอกเห็ดภายในดอกเห็ด basidium จะถูกสร้างที่ปลายเส้นใย ในส่วนของ hymenium เกิดการรรวมตัวของนิวเคลียส (karyogamy) ขึ้นภายใน basidiumได้ zygote นิวเคลียสซึ่งจะแบ่งตัวแบบไมโอซีส ขณะเดียวกับ basidium แบ่งออกเป็น 4 เซลล์ โดยมีการสร้างผนังกั้นตามขวางขึ้น 3 อัน อันแรกจะถูกสร้างขึ้นขณะที่นิวเคลียสมีการแบ่งตัวครั้งแรก และอีก 2 อัน เมื่อนิวเคลียสแบ่งตัวครั้งที่สองแต่ละเซลของ basidium ก็เจริญให้ epibasidium นิวเคลียสแต่ละอันก็จะเคลื่อนไปยังส่วนปลายของ epibasidium ซึ่งโป่งพองเกิดเป็น basidiospore ซึ่ง basidiospore เมื่อหลุดออกไปก็จะออกให้เส้นใยใหม่

วงจรชีวิตของเห็ดหูหนูแบบ Heterothallic : มีดังนี้
1.เริ่มจากเห็ดหูหนูเจริญเติบโตเต็มที่จะมีการสร้างสปอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาวหล่น บนพื้นหรือปลิวไปตามสายลม
2.เมื่อสปอร์ของดอกเห็ดปลิวไปตกในบริเวณที่เหมาะสม เช่น ความชื้น อุณหภูมิ และอาหารที่เหมาะสมต่อการาเจริญของเห็ดหูหนู สปอร์ก็จะงอกเส้นใยขั้นแรก (primary mycelium) ออกมา เส้นใยของเห็ดหูหนูจะมีผนังกั้น (Septate hypha) และภายในแต่ละช่องจะมีนิวเคลียส 1 อัน เส้นใยของเห็ดหูหนูจะมีการแตกกิ่งก้านมากมาย แต่ไม่สามารถจะมารวมและพัฒนาเป็นดอกเห็ดได้

3.เส้นใยของเห็ดหูหนูพวก primary mycelium จะต้องมีการผสมกัน หรือรวมกันระหว่างเส้นใยที่เกิดจากต่างสปอร์กัน แต่สามารถเข้ากันได้ (Compatible) หลังจากเกิดการรวมตัวกันก็จะได้เส้นใยขั้นที่ 2 (Secondary mycelium) เส้นใยขั้นที่ 2 จะมีขนาดเล็กกว่าเส้นใยขั้นแรกเล็กน้อย และภายในเส้นใยแต่ละช่อง (Septum) จะมี 2 นิวเคลียสเส้นใยขั้นที่ 2 นี้ระหว่างเซลล์จะมีข้อยึดเรียกว่า Clamp connection เส้นใยขั้นที่ 2 จะเจริญและมีการสะสมของอาหารไว้ในเส้นใยจะสามารถพัฒนาเป็นดอกเห็ดต่อไป

สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเจริญของเห็ดหูหนู :
1.อุณหภูมิ (Temperature) เห็ดหูหนูเป็นเห็ดที่เจริญได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้างมาก ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส เส้นใยของเห็ดจะไม่ค่อยเติบโต อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเติบโตของเห็ด คือ 28 องศาเซลเซียสหรือ อุณหภูมิควรอยู่ระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส พบว่าที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส จะชะงักการงอกของสปอร์ การงอกของสปอร์เห็ดหูหนูขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญ นอกจากนี้ในสภาพอุณหภูมิต่ำ เห็ดหูหนูจะมีครีบดอกผิดปกติ และมีขนยาว เจริญเติบโตช้า และผลผลิตต่ำ แต่ถ้าอุณหภูมิสูง ดอกเห็ดหูหนูที่ได้จะมีขนาดเล็กเส้นใยโตช้าแห้งง่าย และผลผลิตต่ำ 

2.ความชื้น (Humidity) เห็ดหูหนูจัดเป็นเห็ดที่ชอบความชื้นของอากาศสูง ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ (Relative humidity) ไม่ควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในระยะที่เห็ดหูหนูใกล้ออกดอก ควรมีความชื้นไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ส่วนความชื้นในวัสดุเพาะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู ควรมีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ทั้งความชื้นในอากาศและความชื้นในวัสดุที่ใช้เพาะ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของเห็ดหูหนู

3.แสงสว่าง (Light) ปกติแสงไม่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเห็ดหูหนูมากนัก การเลี้ยงเส้นใยเห็ดหูหนู ควรเลี้ยงในที่มืดแต่หลังจากเส้นใยเจริญเต็มผิวของอาหารวุ้นแล้วควรให้เส้น ใยเห็ด มีโอกาสได้รับแสงบ้างพอสมควร ทั้งนี้เพราะแสงสว่างจะช่วยกระตุ้นให้เส้นใยเห็ดหูหนูรวมตัวกัน และเจริญไปเป็นดอกเห็ดได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าในขณะที่เห็ดหูหนูออกดอกและได้รับแสงสว่างมากเกินไป จะทำให้เห็ดหูหนูมีขนยาว ดอกสีคล้ำแต่ถ้าได้รับแสงน้อยขนจะสั้นและดอกมีสีซีด

4.สภาพความเป็นกรด – ด่าง เห็ดหูหนูเจริญได้ดีในสภาพเป็นกลางหรือเป็นกรดเล็กน้อย ประมาณ 4.5 – 7.5 คล้ายกับเชื้อราทั่วไป ในการเพาะเห็ดหูหนูจึงควรปรับสภาพของอาหารให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต การผลิตก้อนเชื้อเห็ดหูหนู สูตรที่นิยมใช้คือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม แป้งข้าวสาลีหรือน้ำตาล 3 – 4 กิโลกรัม รำละเอียด 5 กิโลกรัม ข้าวโพดป่น 3 – 5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม ปูนขาว 0.5 – 1 กิโลกรัม น้ำสะอาด 80 – 90 กิโลกรัม

5.การถ่ายเทของอากาศ (Aeration) การถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือนนับว่ามีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเห็ดหู หนูเช่นกัน ถ้าสภาพของโรงเรือนถ่ายเทอากาศไม่ดี และมีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากๆ ดอกเห็ดจะไม่บานหรือเจริญเติบโตต่อไปตามปกติ แต่ดอกเห็ดจะมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายกระบอง อย่างไรก็ตามถ้าโรงเรือนมีการถ่ายเทอากาศมากเกินไป ดอกเห็ดจะมีลักษณะกระด้างขนยาว ดังนั้น โรงเรือนที่ใช้ในการเพาะเห็ดหูหนูภายในควรบุด้วยพลาสติก พร้อมกับเจาะรูที่พลาสติกเพื่อให้อากาศภายในโรงเรือนถ่ายเทได้ดีพอสมควร